มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ใช้งบกลาง 1,725 ล้านบาท ลดค่าเอฟที (FT) ระยะเวลา 4 เดือน (พฤษภาคม-สิงหาคม 65) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก ประหยัดค่าไฟจากส่วนลดได้ 0.2338 บาทต่อหน่วยหลังจากก่อนหน้านี้ที่มีกระแสข่าว ขึ้นค่า FT ล่าสุด
วันที่ 10 พ.ค. 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ เห็นชอบกรอบวงเงิน 1,724.95 ล้านบาท ในมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรค่า (FT) – ลดค่า FT – ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565) โดยผู้ใช้ไฟฟ้าดังกล่าวที่จ่ายค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าจากการลดค่าเอฟทีที่ 0.2338 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นการดำเนินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 และ 19 เมษายน 2565
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าทำให้ลดภาระค่าไฟฟ้าค่าของชีพแก่ประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก มีเงินเพื่อการบริโภคและอุปโภค ช่วยลดผลกระทบและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการใช้ชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ช่วยให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมสามารถขับเคลื่อนในระยะต่อไปได้
สรุปประเด็นข่าว : ลดค่าไฟ FT 4 เดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2565 จะทำให้หลายครัวเรือน สามารถ ลดค่าไฟ 4 เดือน เลยทีเดียว
คำนวณให้แล้ว ลดเงินสมทบ ประกันสังคม 3 เดือน ประหยัดเงิน ได้กี่บาท
“ลดเงินสมทบ” ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.40 คำนวณให้แล้ว 3 เดือน ประหยัดเงิน ได้กี่บาท จ่ายเท่าไหร่ เคาะมาแล้ว ประกาศมาตรการ ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 เหลือ 1% ผู้ประกันตน มาตรา 39 เหลือเพียง 91 บาทต่อเดือน และสำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 มีการขยายระยะเวลาลดเงินสมทบเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่ ก.พ. – ก.ค. 2565
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยมาตรการที่เริ่มมีผลบังคับตั้งแต่เดือน พ.ค.- ก.ค.เช่นกัน คือการ ลดเงินสมทบ เข้ากองทุน ประกันสังคม ของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 11.2 ล้านคน ได้ปรับลดทั้งส่วนเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนจากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง ในส่วนของ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.9 ล้านคน ปรับลดอัตราเงินสมทบจาก 432 บาทต่อเดือน ก็ลดลงเหลือ จ่ายเพียง 91 บาทต่อเดือน
สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ซึ่งมีอยู่ 10.7 ล้านคน ได้มีการขยายระยะเวลาลดเงินสมทบเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่ ก.พ. – ก.ค. 2565 ซึ่งเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาก็ได้เผยแพร่อัตราเงินสมทบในส่วนของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้อัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนกับรัฐบาลลดลง ใน 3 ทางเลือก แยกเป็น
ผู้ประกันตนที่เดิมจ่ายเงินสมทบอัตรา 70 บาท ต่อเดือน ลดลงเป็น 42 บาท ต่อเดือน รัฐบาลลดเงินสมทบจาก 30 บาท เหลือจ่าย 21 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย
ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในอัตรา 100 บาท ต่อเดือน ลดลงเป็น 60 บาท ต่อเดือน รัฐบาลลดเงินสมทบจากเดือนละ 50 บาท เหลือจ่าย 30 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
ผู้ประกันตนที่อัตราเดิมจ่ายสมทบ 300 บาท ต่อเดือน ลดลงเป็น 180 บาท ต่อเดือน รัฐบาลลดงเงินสมทบจาก 150 บาท เหลือ 90 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
นอกจากนี้ในส่วนของอัตราเงินสมทบ ประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน ม.40 หากจ่ายครบเต็มจำนวนของงวด เดือน ก.พ. – ก.ค. 2565 สามารถขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกินได้เลย
หากลดเงินสมทบ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.40 ระยะเวลา 3 เดือน ทางเลือกที่ 1 จากเดิม 210 บาท / 3 เดือน ลดเหลือ 126 บาท / 3 เดือน และสำหรับการลดเงินสมทบ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 2 จากเดิม 300 บาท / 3 เดือน จะเหลือเพียง 180 บาท / 3 เดือน ในส่วนของการลดเงินสมทบ ประกันสังคม ทางเลือกที่ 3 ระะยเวลา 3 เดือน จากเดิม 900 บาท / 3 เดือน จะลดเหลือแค่ 540 บาท / 3 เดือน เท่านั้น
อีกทั้ง ผู้ประกันตนคนใด ที่ชำระเงินสมทบ ประกันสังคม เต็มจำนวน ในอัตราเดิม งวดเดือน กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2565 ก่อนมีประกาศผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 8 พ.ค. สามารถ ขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกิน โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอเงินคืน (สปส.1-40/7) ได้ที่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/wpr/
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป