กรณี ‘ดูดเงินในบัญชี’ ตำรวจไซเบอร์ ชี้มีมานานแล้ว ส่ง SMS ล้วงข้อมูลบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือซื้อสินค้าออนไลน์ จากกรณีที่มีผู้เสียหายเปิดเผยข้อมูลว่าเงินหายจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่มักผูกบัญชีไว้กับบัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมถึงผูกบัญชีไว้กับการทำธุรกรรมออนไลน์อื่นๆ วันนี้ (18 ต.ค.64 ) ด้าน พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) ระบุว่า การดูดเงินจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต บัตรเดบิต ในลักษณะนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งเริ่มต้นมาจากถูกมิจฉาชีพปลอมเป็นหน่วยงานต่างๆ ส่ง SMS ไปหลอกถามข้อมูลบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานาที่ดูน่าเชื่อถือ
โดยผู้เสียหายส่วนใหญ่จะโดนหลอกเอาข้อมูลแบบนี้ก่อน ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลไปหักเงินจากบัญชีได้
“เป็นไปไม่ได้ที่ธนาคารจะถูกแฮก เพราะหากธนาคารถูกแฮก จะต้องแฮกทั้งระบบ ไม่เช่นนั้นทุกคนจะต้องโดนเหมือนกันหมด” ผบช.สอท. ระบุ
อีกสาเหตุหนึ่ง พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า อาจเกิดจากการทำธุรกรรมซื้อสินค้าออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพหาช่องโหว่ในการนำข้อมูลของลูกค้าไปขายในตลาดมืดด้วย ซึ่งทางตำรวจไซเบอร์ได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอด โดยการประสานงานกับ กสทช. และโอเปอเรเตอร์เครือข่ายต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่ ซึ่งกลยุทธ์ของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อให้ข้อมูลบัตรกับใครง่ายๆ ข้อแนะนำสำหรับแนวทางป้องกันเบื้องต้น ข้อมูลจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับแนวทางการป้องกันกรณีที่คนร้ายได้ข้อมูลที่อยู่ด้านหน้าบัตรและตัวเลขรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร คนร้ายจึงสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ที่มีมูลค่าไม่สูงได้ โดยไม่ต้องใช้ OTP
ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ที่ต้องแจ้งข้อมูลด้านหน้าบัตรและรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องระวังการหลอกลวงให้กรอกข้อมูลบัตรเพื่อจ่ายเงินค่าภาษีของเว็บไปรษณีย์ไทยปลอม ซึ่งคนร้ายจะทำหน้าเว็บไซต์มีโลโก้ไปรษณีย์ไทยเหมือนของจริง
หลีกเลี่ยงการกดลิงค์ที่มีการส่งมาทางอีเมล SMS หรือ สื่อสังคมออนไลน์ หากต้องการเข้าไปที่เว็บไซต์ใด ขอให้พิมพ์ชื่อเว็บด้วยตัวเองเพื่อป้องกันเข้าไปสู่เว็บไซต์ปลอมที่มีความแนบเนียนมาก นอกจากนี้ยังประชาชนควรนำแผ่นสติ๊กเกอร์ทึบแสงปิดรหัส 3 ตัวด้านหลังบัตร หรือจดรหัส 3 ตัวดังกล่าวเก็บเอาไว้ แล้วใช้กระดาษทรายลบตัวเลขรหัสดังกล่าวออกจากด้านหลังบัตร เพื่อความปลอดภัยในการใช้จ่ายประจำวัน และป้องกันมิจฉาชีพ มิให้แอบถ่ายรูปด้านหน้าและหลังบัตรเพื่อนำไปใช้จ่ายในโลกออนไลน์
ทั้งนี้ประชาชนที่พบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด สามารถแจ้งไปยัง Call Center สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 191 หรือ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
วิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถูกหักเงินจากบัตรเครดิต เดบิต โดยไม่รู้ตัว
วิธีป้องกันตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถูกหักเงินจากบัตรเครดิต เดบิต ที่กำลังเป็นข่าวดังในขณะนี้ หลังมิจฉาชีพแห่ดูดเงิน ผู้เสียหายกว่า 4 หมื่นราย หลังจากที่โลกออนไลน์มีการเปิดผยความเสียหายจากการโดนหักเงินในบัญชีโดยไม่ทราบที่มา จนเกิดมีการตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก “แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว” โดยผู้เสียหายตรวจสอบพบว่ามีเงินถูกหักจากบัญชีธนาคารโดยไม่รู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยอดเงินจำนวนไม่มาก 30 บาทบ้าง 36 บาทบ้าง
แต่เป็นการดูดเงินหายไป หลายครั้ง บางคนโดนจนเกลี้ยงบัญชี และโดนกันหลากหลายธนาคาร โดยรายการธุรกรรมเหล่านี้ จะระบุว่าเป็นการ “ชำระค่าสินค้าผ่าน EDC”
ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ The Thaiger จึงขอแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้ถูกหักเงินจากบัญชี หรือ บัตรเครดิต บัตรเดบิต ตลอดจนขั้นตอนป้องกันภัยแต่เนิ่นๆ ดังนี้
– นำแผ่นสติกเกอร์ทึบแสงปิดรหัสหลังบัตร 3 ตัว หรือจดจำรหัสนั้นเอาไว้ แล้วใช้กระดาษทรายลบตัวเลขรหัสดังกล่าวออกจากด้านหลังบัตร เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ มิให้แอบถ่ายรูปด้านหน้าและหลังบัตรเพื่อนำไปใช้จ่ายในโลกออนไลน์
– หากซื้อสินค้าออนไลน์ ถ้าไม่แน่ใจในเว็บไซค์แปลกๆ ไม่ควรบอกหมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวโดยไม่จำเป็น
– หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ที่ต้องแจ้งข้อมูลด้านหน้าบัตรและรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร
– อย่ากดลิงก์ สื่อต่างๆ หรือ SMS แบบทันทีทันใด เช็คให้ชัวร์ ตรวจสอบ SMS ให้แน่ใจ ก่อนทำรายการ เพื่อป้องกันการถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวไปใช้
– เวลาใช้จ่ายบัตร ระวังอย่าเอาบัตรให้เจ้าหน้าที่รูดบัตร หรือ พนักงานเอาข้อมูลเก็บไว้แล้วไปขายตค่อหใมิจฉาชีพ
– กรณีใช้บัตรรูดซื้อสินค้า ควรไม่ให้เจ้าหน้าที่นำบัตรไปรูดชำระสินค้าในที่ลับตา เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานนำข้อมูลในบัตรไปขายต่อให้มิจฉาชีพ
โดยข้อมูลล่าสุด พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกภาคดำเนินการรับแจ้งความทุกคดีไม่ว่าเหตุเกิดที่ใดก็ตาม จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายทราบว่า เมื่อเกิดเหตุขึ้นไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด สามารถเดินทางไปแจ้งความได้กับทุกสถานี แม้เรื่องที่เกิดจะอยู่คนละจังหวัดก็ตาม
นอกจากนี้ ลูกค้าที่ตรวจสอบพบความผิดปกติของรายการธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเร่งคืนเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายตามขั้นตอนของธนาคารโดยเร็วต่อไป
สำหรับผู้ที่ถูกหักเงินออกจากบัตร บัญชีธนาคารผิดปกติ สามารถรีบโทรไปแจ้งอายัติตามหมายเลข Call Center (คอลเซ็นเตอร์) ธนาคารนั้น ๆ ได้ รีบโทรทันทีที่รู้ตัว ยิ่งตัดวงจรการถูกปล้นเงินได้ไว
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป